พพ.-กนอ.เดินหน้าหนุนเอกชนเข้าโหมดพลังงานทดแทน เผยครม.อนุมัติใช้ไฟไม่เกิน 300 หน่วย ไม่ขึ้นค่าไฟ พร้อมเดินหน้าให้ความรู้ภาคครัวเรือน-อุตสาหกรรมประหยัดไฟ ทุ่มเงินลงทุน 30,000 ล้านบาทเริ่มปักธงเดินหน้า 5 พันโรงงาน ก่อนขยายไปสู่ภาคอุตฯของเอกชนต่อไป
ในช่วงเวลาที่เกิดผลกระทบจากปัจจัยภายนอกจนส่งผลกระทบต่อภาวะราคาพลังงานที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย ที่ราคาพลังงานมีผลต่อภาคครัวเรือน และภาคอุตสาหกรรมของประเทศ นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พ.พ.) กล่าวภายหลังงานพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับพันธมิตรอย่าง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ถึงการแนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น และ การส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานทดแทนและประหยัดพลังงาน ในช่วงเวลานี้ว่า
“ทางพพ.มีนโยบายส่งเสริมให้ภาคเอกชน หันมาเน้นเรื่องของการประหยัดพลังงานอย่างต่อเนื่องทั้งในภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดความร่วมมือของทุกฝ่ายภาคส่วน ทั้งเรื่องของการอบรมการให้ความรู้ และล่าสุดทางคณะรัฐมนตรีอนุมัติเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายสำหรับภาคครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยแล้ว ทางกรมเปิดบริการให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องของการใช้พลังงานทดแทนและการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด ผ่านทางเว็ปไซต์แลฃะหมายเลขโทรศัพท์ของกรมฯ เพื่อให้ประชาชนสามารถปรึกษาหารือเกี่ยวกับเรื่ององการใช้พลังงานทั้งเรื่องของไฟฟ้า และเรื่องของน้ำมันซึ่งเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวัน”
“ส่วนในภาคอุตสาหกรรมกรมได้ส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานทดแทนที่สะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงโครงการรณรงค์ เรื่องของการสนับสนุน การอบรมและการให้ความรู้ต่างๆ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมหันมาสนใจและร่วมมือกันเพื่อประหยัดพลังงานซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเรื่องของการลดต้นทุน ความสามารถในการแข่งขันตลอดจนช่วยชาติในการประหยัดเม็ดเงิน”
ขณะที่การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน พลังงานสะอาด รวมถึงการสร้างแนวทางการใช้พลังงานอย่างมีคุณค่า “นายวีริศ อัมระปาล” ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า “หลังพิธีลงนามที่เกิดขึ้นกับทั้งพพ.และสถาบันการเงินที่จะเข้ามาสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมหันมาใช้แนวทางการปแระหยัดและใช้พลังงานทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในส่วนของการนิคมอุตสาหกรรมฯ ทั้งหมด 15 นิคมฯ และ 1 ท่าเรืออุตสาหกรรม และอีกกว่า 5 พันโรงงาน โดยมีเป้าหมายจะปรับให้หันมาใช้พลังงานทดแทนทั้งเรื่องของการใช้พลังงานจากโซลาร์เซลล์ หรือการปรับเปลี่ยนปรับปรุงเครื่องจักร ซึ่งทางพพ.จะเข้ามามีส่วนในการให้ความรู้เรื่องนี้ และจะขยายไปยังนิคมร่วมภาคเอกชนต่อไป โดยเม็ดเงินลงทุนจะอยู่ที่ประมาณ 30,000 ล้านบาท แต่ส่งผลให้เกิดการประหยัดการใช้พลังงานได้มากว่า 8,000 ล้านบาท หากทำได้ครบตามเป้าหมายที่วางไว้”
“โดยเริ่มต้นทางกนอ.ได้ตั้งบริษัทลูกเพื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการ และเริ่มต้นโครงการนี้ในส่วนนิคมฯ สังกัดกนอ.ก่อนราว 5,000 โรงงาน โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงินพันธมิตรในส่วนของเม็ดเงินลงทุนในส่วนนี้” นายวีริศ กล่าว