ผลสำรวจเกี่ยวกับนโยบายทางการเมือง ของพรรคเพื่อไทยที่เพิ่งได้จัดตั้งรัฐบาล จากประชาชนในกลุ่มสำรวน โดยศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “นโยบายพรรคเพื่อไทย ทำได้หรือไม่?” ซึ่งสำรวจระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม ถึง วันที่ 1 กันยายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง
สำหรัลผลการสำรวจ เมื่อถามประชาชนเกี่ยวกับนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่ประชาชนอยากได้เกี่ยวกับรายได้และเศรษฐกิจ พบว่า นโยบายพักหนี้เกษตรกร 3 ปี ทั้งต้น ทั้งดอกทันที ตัวอย่าง ร้อยละ 25 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 7.33 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 4.89 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ตอบ
นโยบายทุกครอบครัวมีรายได้ไม่น้อยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ตัวอย่าง ร้อยละ 18 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 7.94 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 5.42 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ
นโยบายกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท สำหรับผู้มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 36 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 11.91 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 4.65 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 0.08 ระบุว่า ไม่ตอบ
นโยบายเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี 25,000 บาทต่อเดือน ภายในปี 2570 ตัวอย่าง ร้อยละ 80.08 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 12.67 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 6.79 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ
นโยบาย ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน ภายในปี 2570 ตัวอย่าง ร้อยละ 78.09 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 13.51 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 8.09 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 0.31 ระบุว่า ไม่ตอบ
นโยบายรถไฟฟ้า กทม. 20 บาทตลอดสาย ตัวอย่าง ร้อยละ 90 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 13.97 ระบุว่า เฉย ๆ ร้อยละ 11.37 ระบุว่า ไม่อยากได้ และร้อยละ 1.76 ระบุว่า ไม่ตอบ
นอกจากนี้ ยังมีนโยบายเกี่ยวกับการเมืองและภาคสังคม โดยนโยบาย จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ตัวอย่าง ร้อยละ 70 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 10.61 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 8.86 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 1.83 ระบุว่า ไม่ตอบ
นโยบายกทม. ทั้ง 50 เขต มีโรงพยาบาลประจำเขต ตัวอย่าง ร้อยละ 78.17 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 10.76 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 10.46 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 0.61 ระบุว่า ไม่ตอบ
นโยบาย จัดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ ในจังหวัดนำร่อง ตัวอย่าง ร้อยละ 51 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 16.87 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 8.47 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 1.15 ระบุว่า ไม่ตอบ
นโยบายแก้ไขกฎหมาย เพื่อยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ตัวอย่าง ร้อยละ 32 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 34.66 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 6.56 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ
และในคำถามเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่จะสามารถทำได้สำเร็จ ในส่วนของนโยบายเศรษฐกิจและรายได้ พบว่า นโยบายพักหนี้เกษตรกร 3 ปี ทั้งต้น ทั้งดอกทันที ตัวอย่าง ร้อยละ 68.32 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 18.63 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 12.75 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 0.30 ระบุว่า ไม่ตอบ นโยบายกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท สำหรับผู้มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 82 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 29.01 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 16.87 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 0.30 ระบุว่า ไม่ตอบ
นโยบายรถไฟฟ้า กทม. 20 บาทตลอดสาย ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 30.15 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 18.78 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 2.98 ระบุว่า ไม่ตอบ นโยบายทุกครอบครัวมีรายได้ไม่น้อยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ตัวอย่าง ร้อยละ 31 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ และไม่เชื่อว่าทำได้ ในสัดส่วนที่เท่ากัน รองลงมา ร้อยละ 19.08 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 0.30 ระบุว่า ไม่ตอบ
นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน ภายในปี 2570 ตัวอย่าง ร้อยละ 41.98 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 37.18 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 20.46 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ตอบ
นโยบายเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี 25,000 บาทต่อเดือน ภายในปี 2570 ตัวอย่าง ร้อยละ 41.14 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 36.64 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 21.76 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ
ส่วนนโยบายด้านการเมืองและสังคม ผลสำรวจระบุว่า นโยบายจัดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ ในจังหวัดนำร่อง ตัวอย่าง ร้อยละ 98 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 27.86 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 16.18 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 2.98 ระบุว่า ไม่ตอบ
นโยบาย กทม. ทั้ง 50 เขต มีโรงพยาบาลประจำเขต ตัวอย่าง ร้อยละ 15 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 28.63 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 17.86 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 3.36 ระบุว่า ไม่ตอบ
แก้ไขกฎหมาย เพื่อยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ตัวอย่าง ร้อยละ 74 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 39.69 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 15.73 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 0.84 ระบุว่า ไม่ตอบ
จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ตัวอย่าง ร้อยละ 01 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 35.72 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 23.51 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 1.76 ระบุว่า ไม่ตอบ