- เผยผลศึกษา “Y Economy” พบซีรีส์วาย เติบโตเร็วชิงตลาด Mass สำเร็จ
- ครองใจแฟนซี่รี่วาย ให้สำเร็จ ต้องเข้าใจ เข้าถึง และมีลูกเล่นรอบด้าน
- LIVE TV เป็นแพลตฟอร์มหลักในการชมซีรี่ส์วาย ด้วยตัวเลขสูงถึง 80% ของผู้ชมซีรี่ส์วายทั้งหมด
LINE Insights ทีมวิจัยและเก็บข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคภายใต้ LINE ประเทศไทย เปิดเผยผลวิจัยตลาดผู้ชมซีรี่ส์วาย ภายใต้หัวข้อ Y Economy มุ่งเจาะลึกกระแสซีรีส์วาย ชี้เป็นคนกลุ่มใหญ่ในสังคม และมีอิทธิพลต่อตลาดในวงกว้าง แนะแบรนด์นำข้อมูลต่อยอดทำการตลาดให้ตรงความต้องการ พร้อมก้าวเป็นผู้นำเทรนด์ ครองใจลูกค้าแฟนซีรี่ส์วาย
ดร.พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE ประเทศไทย เปิดเผยว่า “ในฐานะที่แพลตฟอร์ม LINE เป็นแพลตฟอร์มที่ถือเป็นแหล่งรวมซีรีส์วาย (Y Series) อยู่บน LINE TV โดยการเข้าชมมีการเติบโตมากถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2019 เราจึงให้ความสำคัญกับคอนเทนต์ในกลุ่มนี้มาก และเพื่อให้เข้าใจความต้องการของผู้ชมในกลุ่มนี้มากขึ้น LINE ประเทศไทย โดย LINE Insights จึงได้ร่วมกับบริษัทวิจัยการตลาดนีลเส็น จัดทำบทวิจัยตลาดภายใต้หัวข้อ Y Economy ที่มุ่งศึกษาและวิเคราะห์กลุ่มผู้ชมซีรีย์วายแบบเจาะลึก ทั้งในด้านประชากรศาสตร์ พฤติกรรมการรับชม ตลอดจน ผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจที่เกิดจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคกลุ่มนี้”
จากการศึกษา พบว่า LIVE TV เป็นแพลตฟอร์มหลักในการชมซีรี่ส์วาย โดย 80% ของผู้ชมซีรี่ส์วายทั้งหมดรับชมทาง LINE TV และในบรรดาผู้ชมทั้งหลาย ผู้หญิงเป็นกลุ่มผู้ชมหลักที่มีมากถึง 78% และหากมองกลุ่มอายุ ผู้ชมกลุ่มนี้มีความหลากหลายในช่วงอายุมาก คือ ตั้งแต่ 15-40 ปี และมีรายได้เฉลี่ยอยู่ในระดับ A คือรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยประมาณ 80,000 บาทต่อเดือน นั่นหมายความว่า ผู้บริโภคกลุ่มนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่ในเพศหรือวัยใดวัยหนึ่ง แต่เป็นคนที่กระจายอยู่ในทุกช่วงอายุ และยังมีรายได้สูง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ เป็นประโยชน์กับนักการตลาดอย่างมากที่แสดงให้เห็นถึงกำลังซื้อของคนกลุ่มนี้ที่สามารถใช้จ่ายในสินค้าและบริการที่หลากหลาย ไม่จำกัดอยู่เพียงแค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น
ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง คือ พฤติกรรมการชมซี่รี่ย์วายของผู้ชมกลุ่มนี้ ที่นอกจากจะชื่นชมในตัวนักแสดงเป็นอย่างมากแล้ว ผู้ชมซีรี่ส์วายยังยินดีที่จะได้เห็นแบรนด์สินค้าต่างๆ ปรากฎอยู่ในซี่รี่ย์ที่กำลังรับชม ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการจัดวางในฉาก การสัมผัสสินค้า หรือการ Tie-in เข้าไปในคอนเทนต์ของซี่รี่ย์แต่ละตอน และมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนหรือซื้อสินค้าของแบรนด์ที่เป็นสปอนเซอร์ให้กับนักแสดงที่พวกเขาชื่นชอบ นั่นจึงเป็นโอกาสให้แบรนด์ต่างๆ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับคอนเทนต์ได้มากขึ้น เพื่อที่จะบริหารการปรากฎของแบรนด์ในซี่รี่ย์วายได้ตรงกับความต้องการและตรงใจผู้ชมมากที่สุดนั่นเอง
“นอกจากพฤติกรรมการรับชม และข้อมูลทางประชากรศาสตร์แล้ว ผลวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า 90% ของการรับชมซี่รี่ย์วาย เกิดขึ้นบนสมาร์ทโฟน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของแบรนด์และนักการตลาด ที่จะเลือกใช้แพลตฟอร์มและสื่อออนไลน์ในการเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มนี้ แพลตฟอร์ม LINE จึงกลายเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งในการตัดสินใจเลือกลงโฆษณาของแบรนสินค้าต่างๆ เพราะมี Ecosystem ที่แข็งแกร่ง เอื้อต่อการสร้างประสบการณ์ของแบรนด์และกลุ่มเป้าหมายได้หลากมิติและต่อเนื่อง เพราะไม่เพียงแต่การรับชมผ่าน LINE TV ยังมีฟีเจอร์ที่สามารถสนับสนุนให้คอนเทนต์ไปไกลมากกว่าการรับชมเพื่อความบันเทิงที่หน้าจอ สามารถตอบสนองความต้องการให้กับผู้ชมที่ชื่นชอบนักแสดง อาทิ การรวมกลุ่มพูดคุยกันใน LINE Open Chat รูปใช้สติ๊กเกอร์ไลน์คาแรกเตอร์นักแสดง เมโลดี้เพลงประกอบซี่รี่ย์หรือคำพูดโดนใจในซีรีส์ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีเครือข่ายในการกระจายคอนเทนต์ไปยังผู้ชมในต่างประเทศได้มากกว่า 28 ประเทศทั่วโลก ซึ่งสามารถผลักดันให้สินค้าต่างๆ มีโอกาสเติบโตในตลาดระดับสากลได้” ดร.พิเชษฐ กล่าวสรุป