ศึกชนช้าง!เอกชนแถวหน้าของไทยร่วมประมูลบริหารจัดการที่พักริมทางมอเตอร์เวย์

จากการเปิดประมูล ให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน 30 ปี โครงการพัฒนาและบริหารจัดการที่พักริมทางหรือ Rest Area บนมอเตอร์เวย์ 2 สายทาง ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคมและปิดการขายวันที่ 22 กันยายน 2566 นี้

โดยกรมทางหลวง ซึ่งเป็นที่จับตามองของหลายฝ่ายสำหรับเอกชนรายใหญ่ที่เข้าร่วมประมูล ซึ่งล้วนแต่เป็นภาคเอกชนในระดับแถวหน้าของไทย ซึ่งการประมูล Rest Area บนมอเตอร์เวย์ ในครั้งต้องถือเป็นศึกช้างชนช้าง ที่อาจจะมองไปถึงภาพการเติบโตและแข็งแกร่งอย่างแท้จริงของเอกชนผู้ชนะการประมูล

สำหรับการประมูลล่าสุด มีเอกชน 5 บริษัท จากกลุ่มผู้ให้บริการสถานีน้ำมัน พลังงาน บริหารมอเตอร์เวย์ รถไฟฟ้าและทางด่วนที่ให้สนใจซื้อเอกสารประมูล จากมอเตอร์เวย์ในสองเส้นทางคือ มอเตอร์เวย์ช่วงศรีราชา และ มอเตอร์เวย์ ช่วงบางละมุง โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมการประมูลดังนี้  1.ศูนย์บริการทางหลวงศรีราชา เป็นที่พักริมทางขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กม. 93+500 ช่วงชลบุรี – พัทยา ระหว่างแยกต่างระดับบางพระ (คีรี) และแยกต่างระดับหนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี แบ่งพื้นที่เป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งมุ่งหน้าไปพัทยา 62 ไร่ และฝั่งไปชลบุรี 59 ไร่ เงินลงทุน 930 ล้านบาท

มีซื้อ 5 ราย ได้แก่ 1. บริษัท ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด 2. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 4. บริษัท กัลฟ์ อินฟราสตรัคเจอร์ จำกัด 5. บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

2. สถานที่บริการทางหลวงบางละมุง เป็นที่พักริมทางขนาดกลางตั้งอยู่กม.137+100 ช่วงพัทยา-มาบตาพุด ระหว่างแยกต่างระดับห้วยใหญ่ และแยกต่างระดับเขาชีโอน อ.บางละมุง จ.ชลบุรี แบ่งพื้นที่เป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งขาเข้าและออกจากกรุงเทพฯ มีพื้นที่ฝั่งละ 38 ไร่ เงินลงทุน 800 ล้านบาท

มี 3 รายซื้อเอกสาร ได้แก่ 1. บริษัท ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด 2. บริษัท กัลฟ์ อินฟราสตรัคเจอร์ จำกัด 3. บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

โดยกรมทางหลวงจะเปิดให้ยื่นข้อเสนอวันที่ 22 พฤศจิกายน จำนวน 4 ซอง ประกอบด้วย ด้านคุณสมบัติ ด้านเทคนิค ด้านผลตอบแทนและข้อเสนออื่นๆ จากนั้นเปิดซองวันที่ 28 พฤศจิกายนนี้ คาดจะคัดเลือกเอกชนแล้วเสร็จเดือนกุมภาพันธ์ เซ็นสัญญาเดือนเมษายนและเริ่มสร้างเดือนมิถุนายน 2567 เปิดบริการบางส่วนในปี 2568 และเต็มรูปแบบในปี 2569

สำหรับการดำเนินงาน แบ่งเป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนรูปแบบ PPP Net Cost (สัมปทาน) ระยะเวลาดำเนินการ 32 ปี แบ่ง 2 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการออกแบบและก่อสร้าง 2 ปี และระยะที่ 2 เป็นการดำเนินงานและบำรุงรักษา ซึ่งเอกชนมีหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษา ระยะเวลา 30 ปี

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *