นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานสถาบันปรีดี พนมยงค์ ได้กล่าวถึงปัญหาวิกฤตเลิกจ้างและการว่างงานจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งในไทยและหลายประเทศทั่วโลก เสนอนโยบายและแนวทางในการรับมือปัญหาซึ่งอาจลากยาวไม่ต่ำกว่า 2 ปี เสนอเพิ่มงบฯกระทรวงแรงงานไม่ต่ำกว่า 50,000-100,000 ล้านบาทโดยมองว่า
ปัญหาวิกฤตเลิกจ้างและการว่างงานจะรุนแรงมากยิ่งขึ้นในไตรมาส 2 ต่อเนื่องไตรมาส 3 ทั้งในไทยและหลายประเทศทั่วโลก ขณะเดียวกันสถานการณ์วิกฤตเลิกจ้างและการว่างงานจะยืดเยื้อไปอีกไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยการทำงานหรืออาชีพบางอย่างจะค่อย ๆ หายไปจากระบบ ขณะที่การทำงานหรืออาชีพบางอย่างจะขยายตัวเพิ่มขึ้นพร้อมเกิดอาชีพใหม่ ๆ แต่การเพิ่มขึ้นของตำแหน่งงานจะน้อยกว่าตำแหน่งงานที่หายไปมาก อันเป็นผลจากการหดตัวลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม
แรงงานมนุษย์จึงต้องปรับตัว ไม่เช่นนั้นจะถูกแทนที่โดยหุ่นยนต์และสมองอัจฉริยะในอัตราเร่ง กลายเป็นผู้ไม่มีงานทำไม่มีรายได้ และกระบวนการปรับตัวในสถานการณ์แบบนี้ต้องอาศัยบทบาทของรัฐ การกำหนดยุทธศาสตร์ การสนับสนุนทางด้านงบประมาณ และการส่งเสริมการดำเนินการงานด้านต่าง ๆ ของรัฐ ในการปรับทักษะของคนทั้งสังคมผ่านระบบการศึกษา การฝึกอบรม และโครงการฝึกปฏิบัติ โครงการและแผนงานต้องทำเป็นโครงการขนาดใหญ่โดยรัฐเอง หรือสนับสนุนภาคเอกชนและธุรกิจอุตสาหกรรมดำเนินการอย่างเร่งด่วน
เนื่องจากกรณีพื้นฐาน อาจจะมีคนว่างงานในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 7 ล้านคน อันเป็นผลจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้จะยังมีการทำงานต่ำระดับและว่างงานแฝงจำนวนมากอีกด้วย
กรณีเลวร้ายสุดการว่างงานอาจแตะระดับ 28% ของกำลังแรงงาน 38.41 ล้านคน ทำให้คนว่างงานและไม่มีงานทั่วประเทศเกือบ 11 ล้านคน โดยแรงงานในภาคบริการและการค้าที่มีกำลังแรงงานอยู่ 18.08 ล้านคน อาจจะว่างงานไม่ต่ำกว่า 30-60% เป็นระยะเวลายาวนานไม่ต่ำกว่า 2 ปี นับจากต้นปี พ.ศ. 2563 ซึ่งคนกลุ่มนี้จะต้องไปฝึกทักษะใหม่เพื่อประกอบอาชีพอย่างอื่นแทน
สำหรับงานบางอย่างที่แรงงานไทยไม่ค่อยอยากทำ หรือหาแรงงานไทยมาทำยาก และต้องอาศัยแรงงานต่างด้าว หากปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยและมาตรฐานการทำงานที่ดีขึ้น แรงงานไทยน่าจะมีความประสงค์ในการทำงานมากขึ้น ภายใต้สถานการณ์การว่างงานจำนวนมาก และเป็นการควบคุมไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างชาติข้ามพรมแดน ซึ่งจะทำให้การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีความยุ่งยากขึ้น ทั้งนี้ ขอเสนอแนะนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ดังนี้
ข้อแรก ต้องการให้รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ให้เพิ่มค่าชดเชยในทุกช่วงอายุงานสำหรับกรณีถูกเลิกจ้างเพิ่มขึ้นอีก 2-6 เดือน เพิ่มจากเดิมที่ชดเชยไว้สูงสุดที่ 12 เดือนเป็น 14 เดือนหรือ 18 เดือน การดำเนินการดังกล่าวจะเพิ่มความหนืดหรือต้นทุนให้กับการตัดสินใจเลิกจ้าง ทำให้สถานประกอบการตัดสินใจเลิกจ้างลดลง
ข้อสอง หากกิจการใดเพิ่มการจ้างงานโดยที่กิจการยังคงขาดทุนอยู่ เสนอให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบในกองทุนประกันสังคมทั้งหมด สำหรับการจ้างงานใหม่ในส่วนเงินสมทบของนายจ้างแทนเป็นเวลา 1 ปี
ข้อสาม ขอให้ “ประเทศไทย” รับรองอนุสัญญาฉบับที่ 87 และฉบับ 98 ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับลูกจ้าง ทำให้ระบบแรงงานสัมพันธ์ในสถานประกอบการมีความเป็นธรรมมากขึ้น และเป็นพื้นฐานของการสร้างประชาธิปไตยในสถานประกอบการและเศรษฐกิจ
ข้อสี่ ต้องเปลี่ยนคำนิยามของ “การว่างงาน” และ “การมีงานทำ” ใหม่ เพื่อให้เราได้ทราบถึงอัตราว่างงานที่แท้จริง เพราะเวลานี้มีคนจำนวนมากทำงานเพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อเดือน มีรายได้ไม่เพียงพอ
ข้อห้า เสนอให้ใช้ระบบอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นรายชั่วโมง เพื่อให้ลูกจ้างและนายจ้าง มีความยืดหยุ่นในการจ้างงาน การจ่ายค่าจ้างและการบริหารต้นทุนแรงงานมนุษย์ของกิจการ ภายใต้วิกฤตการณ์เศรษฐกิจ
ข้อหก เพิ่มงบประมาณกับกระทรวงแรงงานเพื่อนำไปปรับทักษะ พัฒนาทักษะ เพิ่มทักษะใหม่ให้กับแรงงานในธุรกิจอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำงานให้มีผลิตภาพสูงขึ้นในระบบเศรษฐกิจที่เป็น new normal
นอกจากนี้เสนอให้เพิ่มงบประมาณกับกระทรวงแรงงาน เพราะกระทรวงแรงงานควรอยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า 50,000-100,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันแม้ว่ารัฐบาลชุดนี้จะไม่ได้ค้างจ่ายเงินสมทบเงินกองทุนประกันสังคม แต่เงินสมทบที่รัฐบาลก่อนหน้านี้ได้ค้างจ่ายสะสมอยู่จำนวนมาก หากรัฐบาลชำระการค้างจ่าย จะทำให้สถานะทางการเงินของกองทุนดีขึ้น สามารถช่วยเหลือประชาชนได้มากขึ้นด้วย
นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานสถาบันปรีดี พนมยงค์ ได้กล่าวถึงปัญหาวิกฤตเลิกจ้างและการว่างงานจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งในไทยและหลายประเทศทั่วโลก เสนอนโยบายและแนวทางในการรับมือปัญหาซึ่งอาจลากยาวไม่ต่ำกว่า 2 ปี เสนอเพิ่มงบฯกระทรวงแรงงานไม่ต่ำกว่า 50,000-100,000 ล้านบาทโดยมองว่า
ปัญหาวิกฤตเลิกจ้างและการว่างงานจะรุนแรงมากยิ่งขึ้นในไตรมาส 2 ต่อเนื่องไตรมาส 3 ทั้งในไทยและหลายประเทศทั่วโลก ขณะเดียวกันสถานการณ์วิกฤตเลิกจ้างและการว่างงานจะยืดเยื้อไปอีกไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยการทำงานหรืออาชีพบางอย่างจะค่อย ๆ หายไปจากระบบ ขณะที่การทำงานหรืออาชีพบางอย่างจะขยายตัวเพิ่มขึ้นพร้อมเกิดอาชีพใหม่ ๆ แต่การเพิ่มขึ้นของตำแหน่งงานจะน้อยกว่าตำแหน่งงานที่หายไปมาก อันเป็นผลจากการหดตัวลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม
แรงงานมนุษย์จึงต้องปรับตัว ไม่เช่นนั้นจะถูกแทนที่โดยหุ่นยนต์และสมองอัจฉริยะในอัตราเร่ง กลายเป็นผู้ไม่มีงานทำไม่มีรายได้ และกระบวนการปรับตัวในสถานการณ์แบบนี้ต้องอาศัยบทบาทของรัฐ การกำหนดยุทธศาสตร์ การสนับสนุนทางด้านงบประมาณ และการส่งเสริมการดำเนินการงานด้านต่าง ๆ ของรัฐ ในการปรับทักษะของคนทั้งสังคมผ่านระบบการศึกษา การฝึกอบรม และโครงการฝึกปฏิบัติ โครงการและแผนงานต้องทำเป็นโครงการขนาดใหญ่โดยรัฐเอง หรือสนับสนุนภาคเอกชนและธุรกิจอุตสาหกรรมดำเนินการอย่างเร่งด่วน
เนื่องจากกรณีพื้นฐาน อาจจะมีคนว่างงานในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 7 ล้านคน อันเป็นผลจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้จะยังมีการทำงานต่ำระดับและว่างงานแฝงจำนวนมากอีกด้วย
กรณีเลวร้ายสุดการว่างงานอาจแตะระดับ 28% ของกำลังแรงงาน 38.41 ล้านคน ทำให้คนว่างงานและไม่มีงานทั่วประเทศเกือบ 11 ล้านคน โดยแรงงานในภาคบริการและการค้าที่มีกำลังแรงงานอยู่ 18.08 ล้านคน อาจจะว่างงานไม่ต่ำกว่า 30-60% เป็นระยะเวลายาวนานไม่ต่ำกว่า 2 ปี นับจากต้นปี พ.ศ. 2563 ซึ่งคนกลุ่มนี้จะต้องไปฝึกทักษะใหม่เพื่อประกอบอาชีพอย่างอื่นแทน
สำหรับงานบางอย่างที่แรงงานไทยไม่ค่อยอยากทำ หรือหาแรงงานไทยมาทำยาก และต้องอาศัยแรงงานต่างด้าว หากปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยและมาตรฐานการทำงานที่ดีขึ้น แรงงานไทยน่าจะมีความประสงค์ในการทำงานมากขึ้น ภายใต้สถานการณ์การว่างงานจำนวนมาก และเป็นการควบคุมไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างชาติข้ามพรมแดน ซึ่งจะทำให้การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีความยุ่งยากขึ้น ทั้งนี้ ขอเสนอแนะนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ดังนี้
ข้อแรก ต้องการให้รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ให้เพิ่มค่าชดเชยในทุกช่วงอายุงานสำหรับกรณีถูกเลิกจ้างเพิ่มขึ้นอีก 2-6 เดือน เพิ่มจากเดิมที่ชดเชยไว้สูงสุดที่ 12 เดือนเป็น 14 เดือนหรือ 18 เดือน การดำเนินการดังกล่าวจะเพิ่มความหนืดหรือต้นทุนให้กับการตัดสินใจเลิกจ้าง ทำให้สถานประกอบการตัดสินใจเลิกจ้างลดลง
ข้อสอง หากกิจการใดเพิ่มการจ้างงานโดยที่กิจการยังคงขาดทุนอยู่ เสนอให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบในกองทุนประกันสังคมทั้งหมด สำหรับการจ้างงานใหม่ในส่วนเงินสมทบของนายจ้างแทนเป็นเวลา 1 ปี
ข้อสาม ขอให้ “ประเทศไทย” รับรองอนุสัญญาฉบับที่ 87 และฉบับ 98 ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับลูกจ้าง ทำให้ระบบแรงงานสัมพันธ์ในสถานประกอบการมีความเป็นธรรมมากขึ้น และเป็นพื้นฐานของการสร้างประชาธิปไตยในสถานประกอบการและเศรษฐกิจ
ข้อสี่ ต้องเปลี่ยนคำนิยามของ “การว่างงาน” และ “การมีงานทำ” ใหม่ เพื่อให้เราได้ทราบถึงอัตราว่างงานที่แท้จริง เพราะเวลานี้มีคนจำนวนมากทำงานเพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อเดือน มีรายได้ไม่เพียงพอ
ข้อห้า เสนอให้ใช้ระบบอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นรายชั่วโมง เพื่อให้ลูกจ้างและนายจ้าง มีความยืดหยุ่นในการจ้างงาน การจ่ายค่าจ้างและการบริหารต้นทุนแรงงานมนุษย์ของกิจการ ภายใต้วิกฤตการณ์เศรษฐกิจ
ข้อหก เพิ่มงบประมาณกับกระทรวงแรงงานเพื่อนำไปปรับทักษะ พัฒนาทักษะ เพิ่มทักษะใหม่ให้กับแรงงานในธุรกิจอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำงานให้มีผลิตภาพสูงขึ้นในระบบเศรษฐกิจที่เป็น new normal
นอกจากนี้เสนอให้เพิ่มงบประมาณกับกระทรวงแรงงาน เพราะกระทรวงแรงงานควรอยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า 50,000-100,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันแม้ว่ารัฐบาลชุดนี้จะไม่ได้ค้างจ่ายเงินสมทบเงินกองทุนประกันสังคม แต่เงินสมทบที่รัฐบาลก่อนหน้านี้ได้ค้างจ่ายสะสมอยู่จำนวนมาก หากรัฐบาลชำระการค้างจ่าย จะทำให้สถานะทางการเงินของกองทุนดีขึ้น สามารถช่วยเหลือประชาชนได้มากขึ้นด้วย
เพื่อที่กองทุนประกันสังคมจะได้ดูแลผู้ประกันตนได้ดีขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกันตนที่ว่างงานหรือไม่มีงานทำ ส่วนการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้กระทรวงแรงงานในปีงบประมาณ 2564 นั้น ให้เน้นไปที่มาตรการดูแลผู้ว่างงาน การสร้างตำแหน่งงานใหม่ และการฝึกอบรมทักษะให้สูงขึ้น และฝึกทักษะให้สอดคล้องกับ new normal และสามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้