“ดร.มนพร” หนุน “เจ้าท่า” พัฒนาบุคลากรด้านพาณิชยนาวี พร้อมทํา MOU เครือข่ายความเป็นเลิศของคนประจําเรือ ภายใต้กรอบ APEC สนับสนุนการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของ ประเทศ

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุม คณะรัฐมนตรีในวันนี้ (23 เมษายน 2567) ได้มีมติเห็นชอบบันทึกความเข้าใจระหว่างเครือข่ายความเป็นเลิศ ของคนประจําเรือ ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก และกรมเจ้าท่า ประเทศไทย ( Memorandum of Understanding between The Asia – Pacific Economic Cooperation Seafarers Excellence Network (APEC SEN) and Marine Department of Thailand) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคนประจําเรือไทยให้มีศักยภาพ และเป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการธุรกิจ พาณิชย์นาวีทั่วโลก

บันทึกความเข้าใจดังกล่าว เกิดขึ้นจากกลุ่ม APEC ได้เห็นถึงความสําคัญของคนประจําเรือ จึงได้ประชุมหารือร่วมกันเกี่ยวกับเครือข่ายความเป็นเลิศ Seafarer Excellence Network (SENAP) ในการ เสริมสร้างขีดความสามารถระดับโลกของนักเดินเรือในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ทําให้นําไปสู่การจัดตั้ง SENAP อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนสิงหาคม 2561 โดยมีประเทศที่ให้การสนับสนุนการจัดตั้ง SENAP จํานวน 11 ประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์ จีนไทเป สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และได้มีมติเปลี่ยนชื่อจาก SENAP เป็น APEC Seafarers Excellence Network (APEC SEN) ในเดือนเมษายน 2562

ดร.มนพร กล่าวต่อว่า APEC SEN และกรมเจ้าท่า ประเทศไทย ได้ประชุมหารือเกี่ยวกับ แนวทางการจัดทําร่างบันทึกความเข้าใจในกรอบของการฝึกอบรมคนประจําเรือมาอย่างต่อเนื่อง โดย APEC SEN ได้ส่งร่างบันทึกความเข้าใจให้กรมเจ้าท่าพิจารณาและจัดประชุมทวิภาคีฯ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2566 ในโอกาสที่ผู้แทนไทยและ APEC SEN เดินทางไปประชุมคณะทํางานอาเซียนว่าด้วยการขนส่งทางน้ํา (MTWG) ครั้งที่ 44 ระหว่างวันที่ 9 – 11 พฤษภาคม 2566 ณ เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ซึ่งกรมเจ้าท่าได้จัดประชุม เพื่อพิจารณาร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว พร้อมทั้งส่งร่างบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับแก้ไขปรับปรุงให้ APEC SEN พิจารณาแล้ว เบื้องต้น APEC SEN ไม่ขัดข้องต่อข้อเสนอของกรมเจ้าท่า

สําหรับวัตถุประสงค์ของร่างบันทึกความเข้าใจฯ เน้นการศึกษาและการฝึกอบรมด้านการ เดินเรือให้แก่บุคลากรด้านพาณิชยนาวีทั้งคนประจําเรือ นักเดินเรือ ครูฝึก และเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาด้าน การเดินเรือ ซึ่งจะนําไปสู่ความร่วมมือด้านอื่น ๆ และนําไปสู่การพัฒนาบุคลากรด้านพาณิชยนาวีของประเทศ ไทยให้มีศักยภาพ สามารถแข่งขันกับบุคลากรด้านพาณิชยนาวีของต่างประเทศได้อย่างเท่าเทียม โดยร่าง บันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสําคัญดังนี้

  1. กําหนดขอบเขตความร่วมมือระหว่าง APEC SEN และกรมเจ้าท่า ให้ครอบคลุมถึงการ ดําเนินการด้านการศึกษาและการฝึกอบรมด้านการเดินเรือที่มีคุณภาพ การปรับปรุงสวัสดิการผ่านการ สนับสนุนร่วมกัน และการอํานวยความสะดวกในการพัฒนาอาชีพและการฝึกอบรมใหม่สําหรับคนประจําเรือ ในยุคดิจิทัล
  2. กําหนดให้ APEC SEN และกรมเจ้าท่า มีการสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยสถาบันแต่ละ แห่งจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของสมาชิกของคน และสถาบันที่เป็นเจ้าภาพจะให้ความช่วยเหลือที่จําเป็น รวมถึง การออกหนังสือเชิญ พื้นที่ทํางาน และการเข้าถึงฐานข้อมูลทางวิชาการ ทั้งนี้ การสนับสนุนทางการเงินอาจ กําหนดเป็นอย่างอื่นตามความเห็นร่วมกันระหว่าง APEC SEN และกรมเจ้าท่า

ดร.มนพร กล่าวในตอนท้ายว่า การจัดทําบันทึกความเข้าใจฯ นับเป็นโอกาสอันดีในการเสริมสร้าง ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่าง APEC SEN และประเทศไทย อันจะนําไปสู่ความร่วมมือด้านอื่น ๆ ภายใต้กรอบ APEC SEN ต่อไป

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *