การประชุมสัมมนาเชิงบูรณาการเกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์ สังคม และเศรษฐกิจ ของประเทศไทยอย่างยืน

สำนักงานนวัตกรรมและความร่วมมือ สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน กรุงเทพฯ  (CAS ICCB) ร่วมกับศูนย์นวัตกรรมอาเซียนไทย-จีน (China-Thailand ASEAN Innovation Hub) และศูนย์ธนาคารเทคโนโลยีสีเขียว (Green Techonology Bank Bangkok Center) จัดการประชุมสัมมนาเชิงบูรณาการว่าด้วยการพัฒนามนุษย์ สังคม และเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างยืน โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและจีนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องสถานการณ์การลงทุนของบริษัทจีนในประเทศไทยภายใต้กรอบความร่วมมือหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) นโยบายไทยแลนด์ 4.0 อุปสรรคและความสำเร็จของบริษัทจีนที่ลงทุนในประเทศไทย รวมถึงยุทธศาสตร์ของโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

การประชุมได้รับเกียรติจากนักวิจัยหลายท่านจากสถาบันภูมิศาสตร์วิทยาและทรัพยากรธรรมชาติ สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน (Institute of Geographic Sciences and Natural Resources Research, CAS) อาทิ ศาสตราจารย์ซ่งเทา ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิศาสตร์ไทย ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากทั้งประเทศไทยและจีนที่มาร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น โดยตัวแทนฝั่งไทย ได้แก่ ดร. ชลจิต วรวังโส วีรกุล ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ EEC ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิษณุ วงศ์สินศิริกุล เลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ดร.สิฐิภูมิ์ ธนฤทธิพร อนุกรรมการผลักดันผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.

ขณะที่ตัวแทนฝ่ายจีน ประกอบด้วย นายสวีเกินหลั๋ว รองประธานฝ่ายการตลาดจีนจากอมตะ กรุ๊ป (Amata Corparation PCL.) นายเป่าจ้วงเฟย ประธานฝ่ายภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แห่งบริษัท ซีเคอร์ อินเทลลิเจนท์ เทคโนโลยี (Zeekr Intelligent Technology Holding Limited) นายหวงปิน ผู้อำนวยการฝ่ายจีนแห่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย นายจ้าวเซียว ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายวิศวกรรม บริษัท ปักกิ่ง คอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียร์ริ่ง กรุ๊ป (Beijing Construction Engineering Group) นายจางหลิงหัว รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีเครือข่ายและการปฏิบัติการ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *