กสอ. เปิดผลสำเร็จ “แม่เอย” ต้นแบบ ผปก. “ปรับแนวคิด” พาธุรกิจ-พนง. รอด ! ผ่านโมเดล “แตกกอผู้ประกอบการ” เพิ่มโอกาสทำธุรกิจ สร้างรายได้ให้สถานประกอบการและพนักงาน
25 มิถุนายน 2563 – กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งช่วยผู้ประกอบการสินค้าของฝาก เพื่อสร้างรายได้หล่อเลี้ยงชุมชน ผ่านโมเดล “แตกกอผู้ประกอบการ” ฟื้นฟูวิสาหกิจให้ดีพร้อมใน 90 วัน โชว์ผลสำเร็จ “แม่เอย” ต้นแบบผู้ประกอบการที่ปรับแนวคิด พาธุรกิจและพนักงานรอด พร้อมแนะทริค 3P เสริมศักยภาพกิจการใหม่ ได้แก่ 1. Product DIProm ผลิตภัณฑ์ที่ดีพร้อม พัฒนาผลิตภัณฑ์คุณภาพที่สอดคล้องกับความต้อง การของผู้บริโภค ภายใต้ขอบเขตราคาและคุณภาพที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึง 2. Process DIProm กระบวนการที่ดีพร้อม ผ่านการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเสริมศักยภาพการผลิต เพื่อยกระดับกระบวนการบริหารจัดการการผลิตให้มีศักย ภาพมาตรฐาน และ 3. Platform DIProm ตลาดที่ดีพร้อม ใช้โซเชียลมีเดียขยายตลาดเพิ่มยอดขาย โดยปรับสู่การจำหน่ายในแพลตฟอร์มออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น รองรับนโยบายทราเวลบับเบิล จากรัฐบาล ซึ่ง กสอ. มีผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำแนะนำในทุก ๆ กระบวนการ
นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากนโยบายเที่ยวปันสุขของรัฐบาลที่เน้นกระ ตุ้นภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจฐานราก กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม จึงมีแนวทางในการช่วยเหลือผู้ประกอบการสินค้าของฝาก เพื่อเป็นการสร้างรายได้ขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชน ภายใต้มาตรการฟื้นฟูอุตสาหกรรมให้ดีพร้อมใน 90 วัน เพื่อช่วยเหลือ 1 ใน 4 กลุ่มเป้าหมายอย่าง “วิสาหกิจชุมชน” ที่พึ่งพาการท่องเที่ยวในการสร้างรายได้เป็นหลักให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ หลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย ด้วยสถานการณ์ที่ผ่านมา มาตรการควบคุมโรคโควิด-19 นับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ “การท่องเที่ยว” หนึ่งในจิ๊กซอว์ทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก โดยมูลค่าทางเศรษฐกิจของสินค้าของฝาก ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน 2563 ลดลงกว่า 3 หมื่นล้านบาท จากเดิม 1 แสนล้านบาท เกิดการปรับโครงสร้างของวิสาหกิจจำนวนมากและอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ดี เพื่อให้ธุรกิจที่จะแตกกอใหม่มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น กสอ. จึงแนะนำทริค 3P เสริมศักยภาพให้กิจการใหม่ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- Product DIProm หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ดีพร้อม กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับพฤติ กรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยการปรับผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในขอบเขตราคาที่สามารถเข้าถึงพัฒนาอายุผลิตภัณฑ์ให้มีระยะเวลาที่นานขึ้น ทั้งยังต้องวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค รองรับค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง เพื่อช่วยกระ ตุ้นเศรษฐกิจในไทย
- Process DIProm หรือ กระบวนการที่ดีพร้อม ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาเพิ่มศักย ภาพในกระบวนการผลิต รวมทั้งการบริหารจัดการวัตถุดิบ และการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับความเสี่ยงในอนาคต โดยสำหรับธุรกิจที่แตกกอขึ้นมาใหม่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกแบบแผนการดำเนินงานให้มีความยืดหยุ่น เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
- Platform DIProm หรือ ตลาดที่ดีพร้อม การใช้ประโยชน์จากโซเชียลมีเดีย (Social Media) เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสินค้าและบริการ ลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับร้านค้า ทั้งยังสามารถเก็บข้อมูลลูกค้า เพื่อการวาง แผนการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคได้อีกทางหนึ่ง โดยเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางนโยบายการท่องเที่ยวของรัฐบาลในปัจจุบัน “ทราเวลบับเบิล” (Travel Bubble) วิสาหกิจชุมชน ต้องสามารถผนวกผลิต ภัณฑ์เข้ากับแหล่งท่องเที่ยว เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทั้งจากในและต่างประเทศ
นอกจากนี้ กสอ. ยังได้มีการพัฒนาโครงการ “แตกกอผู้ประกอบการ” เพื่อเพิ่มโอกาสในการดำเนินธุรกิจ สร้างรายได้ให้สถานประกอบการและพนักงาน ผ่านกระบวนการปรับแนวคิดเพื่อสร้างแบบจำลองทางธุรกิจ (Business Model) พร้อมให้คำปรึกษาทั้งก่อนและหลังการดำเนินธุรกิจ โดยธุรกิจที่แตกกอขึ้นมาใหม่นั้น อาจเป็นการแตกไลน์การผลิตเพิ่มเติม ที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจเดิมโดยพนักงาน หรือการลงทุนของกลุ่มวิสาหกิจเอง เพื่อขยายไลน์การผลิตใหม่ ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละพื้นที่ ขณะเดียวกัน กสอ. ได้ดำเนินการจัดทีมผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาแนะนำการประ กอบกิจการ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน อุตสาหกรรมเกษตร และคนว่างงาน โดยคาดว่า ภายใต้กรอบมาตรการฟื้นฟูอุตสาหกรรม ให้ดีพร้อมใน 90 วัน
ด้าน นายดิศรณ์ มาริษชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัทขนมแม่เอย – เปี๊ยะ แอนด์ พาย (2003) จำกัด หนึ่งในผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากผลกระทบโควิด-19 ส่งผลให้ยอดการผลิตของบริษัทขนมแม่เอยฯ ลดลงกว่าร้อยละ 60 จากเดิมที่ผลิต 20,000 ชิ้นต่อวัน จำนวนแรงงานลดลงกว่าร้อยละ 80 จากการเดินทางกลับภูมิลำเนา ซึ่งทีมงาน กสอ. โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ได้เดินทางเข้ามาช่วยเหลือ พร้อมให้คำแนะนำในการปรับกลยุทธ์การผลิต ด้วยการคิดต่อยอดและแปรรูปผลิตภัณฑ์ รวมถึงแนะ นำช่องทางการตลาด เพื่อเป็นการสร้างรายได้หล่อเลี้ยงภายในบริษัท รวมถึงพนักงานและประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงในการประกอบอาชีพเสริม ผ่านการจำหน่ายไส้ขนม อาทิ เผือกกวน มันกวน และ ถั่วกวน ไปต่อยอดธุรกิจของตนเอง ด้วยการใช้ไส้ขนมเป็นส่วนประกอบของขนมปังสังขยา หรือนำไปใช้เป็นไส้ของซาลาเปา ซึ่งล่าสุดพบว่า พนักงานและคนในพื้นที่สามารถต่อยอดเป็นธุรกิจได้จริง โดยใช้เงินลงทุนเพียง 500 บาท นอกจากนี้ ยังช่วยกระตุ้นยอดขายไส้ขนมของบริษัทฯ ได้ถึง 2 เท่า หรือคิดปริมาณ 1 ตัน ต่อวัน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม (สล. กสอ.) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 0 2202 4417-18 หรือ www.facebook.com/dipindustry และ www.dip.go.th