ตอกย้ำด้วยประสบการณ์กว่า 40 ปีของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ที่มุ่งยกระดับสู่โรงพยาบาลในการรักษาขั้นจตุตถภูมิ (Quaternary Care) ในการให้บริบาลทางการแพทย์ที่มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง ล่าสุดบำรุงราษฎร์จัดงานแถลงข่าวเปิด “ศูนย์พันธุศาสตร์เชิงป้องกันและสุขภาพครอบครัว” ซึ่งการตรวจยีนของบำรุงราษฎร์จะมุ่งเน้นการป้องกันโรคเชิงรุก เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม อาทิ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคทางพันธุกรรมอื่นๆ รวมถึงการตรวจยีนแพ้ยา และวางแผนการมีบุตร เพื่อค้นหาความเสี่ยงในการเกิดโรคในอนาคต รวมถึงวางแผนการดูแลรักษาแบบเฉพาะบุคคล เพื่อผลลัพธ์ของการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ภายในงาน คุณบี้ – ธรรศภาคย์ ชี ร่วมกับคุณตั๊ก – มยุรา เศวตศิลา ได้ร่วมแชร์ประสบการณ์การตรวจพันธุกรรมที่บำรุงราษฎร์ ถึงเหตุผลในการตัดสินใจและประโยชน์ที่ได้รับจากการตรวจพันธุกรรม ณ ห้องโถงรับรอง ชั้น G อาคารโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ศูนย์พันธุศาสตร์เชิงป้องกันและสุขภาพครอบครัว จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการอย่างครอบคลุมโดยทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพตั้งแต่การให้คำปรึกษาก่อนตรวจ การตรวจยีน การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการที่ได้การรับรองมาตรฐานเฉพาะด้าน การแปลผล ซึ่งต้องใช้แพทย์ผู้ชำนาญการทางพันธุศาสตร์ที่มีประสบการณ์เป็นผู้แปลผล และหากพบพันธุกรรมที่มีความเสี่ยง ก็สามารถส่งต่อแพทย์เฉพาะทางเพื่อให้คำปรึกษาหรือวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิ ภาพสูงสุด ซึ่งบำรุงราษฎร์ได้ใช้เทคโนโลยี Next Generation Sequencing เครื่องตรวจการกลายพันธุ์ของยีน เข้ามาใช้ในห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลฯ อีกด้วย
ปัจจุบัน ศูนย์พันธุศาสตร์เชิงป้องกันและสุขภาพครอบครัว ให้บริการตรวจพันธุกรรมในเชิงป้องกันเพื่อค้นหาความเสี่ยงก่อนเกิดโรค ครอบคลุม 4 กลุ่มหลัก ได้แก่
- โรคมะเร็ง ซึ่งสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ อาทิ มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งโพรงมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งไทรอยด์ เป็นต้น
- โรคหัวใจ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดใหญ่โป่งพองและปริแตก และโรคหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย ซี่งล้วนมีโอกาสเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน
- เพื่อวางแผนการมีบุตร เช่น โรคจากยีนด้อยโครโมโซมเอกซ์ ดาวน์ซินโดรม โรคซิสติก ไฟโบรซิส หูหนวก โรคเลือด เช่น ธาลัสซีเมีย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือโรคและภาวะทางพันธุกรรมอื่นๆ
- ป้องกันการแพ้ยา เพื่อนำไปทำนายโอกาสที่ผู้ป่วยจะแพ้ยา หรือการตอบสนองต่อการใช้ยา โดยจะครอบคลุมยาที่ใช้กันโดยทั่วไป เช่น ยาเบาหวาน ยาหัวใจ ยาความดัน ยานอนหลับ ยาอัลไซเมอร์ ยาจิตเวช ยาลดกรดในกระเพาะ เป็นต้น
คุณบี้ – ธรรศภาคย์ ชี นักร้อง-นักแสดงที่มีผลงานทางการแสดงทั้งในประเทศไทยและประเทศจีน ร่วมแชร์ประสบ การณ์การตรวจพันธุกรรมที่บำรุงราษฎร์ ว่าเนื่องจากครอบครัวผมมีประวัติป่วยเป็นโรคมะเร็ง ผมจึงตัดสินใจตรวจพันธุ กรรมเพื่อประเมินความเสี่ยงให้ทราบก่อนดีกว่าครับ เพื่อคุณหมอจะได้ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง รวมถึงวิธีการป้องกันโรค ดีกว่าเป็นแล้วค่อยมารักษาภายหลัง นอกจากนี้ ผมยังพาน้องเป่าเปามาตรวจยีนแพ้ยาด้วย เพราะทราบมาว่าที่บำรุง ราษฎร์ มีบริการตรวจพันธุกรรมที่ครอบคลุมทุกขั้นตอน ซึ่งคุณหมอให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์มาก และไม่อยากมาลุ้นว่าลูกเราจะแพ้ยาอะไรมั้ย ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้เรารู้ได้ล่วงหน้า ซึ่งก่อนหน้านี้จะรู้ก็ต่อเมื่อต้องกินยานั้นไปแล้ว ซึ่งยาบางตัวถ้าแพ้ก็อาจเกิดอาการรุนแรงได้ และอาการแพ้ยาของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน กรณีของครอบครัวผมขอไม่เสี่ยงครับ ที่สำคัญการตรวจยีนตรวจแค่ครั้งเดียวใช้ได้ตลอดชีวิต เพราะผลยีนจะไม่เปลี่ยน แปลงครับ
ในขณะที่คุณตั๊ก – มยุรา เศวตศิลา ให้มุมมองของการตรวจยีนแพ้ยาว่า พอเราอายุมากขึ้นเรื่อยๆ หลายคนก็ต้องกินยาหลายตัวมากขึ้น คุณหมอที่ตรวจประจำให้คำแนะนำว่า ยาที่เรากินบางตัวอาจทำปฏิกิริยาร่วมกับยาบางตัวได้ และยาบางชนิดอาจเกิดปฏิกิริยาร่วมกับการกินสมุนไพร รวมถึงอาหารและเครื่องดื่มที่เรากินด้วย ซึ่งหากเรามียีนปกติก็ไม่ค่อยส่งผลกระทบมากนัก แต่ถ้าเรามียีนที่ผิดปกติ ยาที่เรากินเข้าไปอาจไม่ได้ผล หรือได้ผลการรักษาที่ไม่ดี ซึ่งการตรวจยีนแพ้ยา ถือเป็นทางออกที่ดีและเหมาะสม เพราะคุณหมอจะได้วางแผนการรักษาของเราให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และหากในอนาคต มีการศึกษาค้นพบยีนตัวใหม่ ๆ และผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อกลุ่มโรคหรือยาที่แพ้เพิ่มเติม ทางโรงพยาบาลฯ จะมีการแจ้งผลให้ผู้ป่วยทราบอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
นพ. อิศร สุขวนิช ผู้อำนวยการศูนย์พันธุศาสตร์เชิงป้องกันและสุขภาพครอบครัว โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวปิดท้ายว่า “การตรวจยีนของบำรุงราษฎร์ มีด้วยกัน 2 วิธีง่ายๆ แต่ให้ผลความแม่นยำสูง คือ 1. การเจาะเลือด และ 2. การเก็บน้ำลาย ทั้งนี้โรงพยาบาลฯ จะทำการตรวจ การประเมินผล พร้อมวางแผนการรักษา ซึ่งเป็นการวิเคราะห์แบบองค์รวม ที่สำคัญ บำรุงราษฎร์ยังมีระบบบริหารจัดการข้อมูลสุขภาพผู้ป่วย Trakcare ที่เชื่อมโยงข้อมูล Electronic Medical Record (EMR) กันทั้งระบบภายในโรงพยาบาล กรณีที่แพทย์จะมีการสั่งยาให้ผู้ป่วย ระบบก็จะช่วยป้อง กันไม่ให้แพทย์สั่งจ่ายยาที่ผู้ป่วยมีอาการแพ้ ระบบจะมีการแจ้งเตือนขึ้นบนหน้าจอทันที รวมถึงมีการส่งมอบบัตรผลการตรวจยีนสำหรับพกพา สำหรับใช้ยื่นให้กับแพทย์ในโรงพยาบาลอื่น ๆ ที่เข้ารับการรักษา ทั้งนี้ บำรุงราษฎร์เราคำนึงถึงคุณภาพการรักษาที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากลและความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด”