ซีเซียม-137 อันตรายหายนะกว่าที่คิด!หลังพบที่ปราจีนฯ นักวิชาการเตือนมลพิษกระจายหลายที่

ผวามลพิษกระจายตัวภาคตะวันออก -ภาคกลาง กรมโรงงานอุตสาหกรรม ย้ำพบแล้วที่โรงงานในจังหวัดปราจีนบุรี โดยการตรวจสอบจากทางจังหวัดและทางสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ขณะที่นักวิชาการประสานเสียง “ฝุ่นแดง” อันตรายหายนะกว่าที่คิด 

จากรณีที่วัสดุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 (Cs-137) ได้สูญหายไปจากโรงไฟฟ้า บริเวณนิคมอุตสาหกรรม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี และล่าสุดนายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี พร้อมด้วยนายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ลงพื้นที่ตรวจสอบ เขตอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี และตรวจโรงหลอม 2 โรง บริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ซึ่งตั้งอยู่ใน ต.หนองกี่ อ.กบินทร์บุรี และบริษัท เคพีพีสตีล จำกัด ต.หาดนางแก้ว.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี

ผลการตรวจสอบบริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ต.หนองกี่ ซึ่งเป็นโรงงานหลอมเหล็กที่ใหญ่ที่สุด และมีเตาหลอมจำนวน 8 เตา ซึ่งในแต่ละวันจะมีรถบรรทุกเศษเหล็กและเหล็กที่หลอมแล้วเข้าออกเป็นจำนวนมาก และคาดว่าอาจจะเป็นจุดที่สารกัมมันตรังสี ‘ซีเซียม 137’ ถูกขายเป็นของเก่า ซึ่งอาจปนมากับเหล็กที่จะเข้ามาได้โดยได้ใช้เครื่องมือของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เข้าตรวจวัดสแกนหารังสีตามกองเศษเหล็ก รวมทั้งเหล็กที่ถูกบีบอัดที่จะเข้าเตาหลอม

ขณะที่บางจุดขณะเจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบ พบว่า เครื่องตรวจวัดอาจจะเจอกับสารบางอย่างแต่ไม่ระบุชนิด หรืออาจเป็นสารกัมมันตรังสี ‘ซีเซียม 137’ ทำให้เจ้าหน้าที่พลังงานปรมาณูเพื่อสันติเข้าตรวจสออย่างละเอียดแต่ยังไม่ยืนยันว่าเป็นสารกัมมันตรังสีซีเซียม 137 หรือไม่? รวมถึงยังตรวจตะกอนจากเตาหลอมว่าพบสารกัมมันตรังสี ‘ซีเซียม 137’ รวมทั้งเศษดินภายในโรงงาน โดยจากตรวจสอบอย่างละเอียดของเจ้าหย้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ยืนยันว่าสารที่พบในโรงหลอมเหล็ก บริษัทเชาว์ สตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน ) เป็นวัสดุกัมมมันตรังสี ‘ซีเซียม 137’ เบื้องต้น จังหวัดปราจีนบุรีจึงได้ออกประกาศปิดโรงงานและกันพื้นที่ไม่ให้พนักงานทั้งหมดออกจากโรงงานเพื่อความปลอดภัย

ด้านนายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบทั้งสอง โดยเฉพาะที่โรงงานเคพีพี อ.กบินทร์บุรี จ. ปราจีนบุรีพบว่า มีสารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 อยู่ในฝุ่นแดงบริเวณเหล็กหลอมในโรงงาน คาดว่า มาจากอุปกรณ์ที่หายไปของโรงไฟฟ้าเนชั่ลแนล ซึ่งถูกหลอมรวมกันไปแล้ว ทำให้เราเจอแต่ในฝุ่นแดงที่ตรวจพบ

และก่อนหน้านี้ทางโรงงานเคพีพี ได้นำฝุ่นแดง 12.4 ตันในโรงงานไปสู่กระบวนการรีไซเคิล ที่ จ.ระยอง ตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค. จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ ไปตรวจสอบฝุ่นแดนในห้องแล็บว่ามีสารซีเซียม-137 ปนเปื้อนไปหรือไม่ ล่าสุดเจ้าหน้าที่แจ้งมาแล้วว่า ไม่มีสารซีเซียม-137 ปนเปื้อนไปที่โรงงานรีไซเคิลที่ จ.ระยอง อย่างแน่นอนส่วนสารปนเปื้อนซีเซียม-137 ที่ตรวจพบในโรงงานเคพีพี ทางสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กฎหมายเฉพาะจะเป็นผู้ดำเนินการต่อไป
นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทยและคณะกรรมการด้านสุขภาพของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่

ขณะที่นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทยและคณะกรรมการด้านสุขภาพของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ เปิดเผยผ่านเฟสบุ๊คเกี่ยวกับการรั่วไหล และ ผลที่จะตามมาในเรื่องของ ซีเซียม -137 โดยระบุว่า ” ถ้าแท่งโลหะที่บรรจุCs137ถูกหลอมรวมกับเศษเหล็กในโรงงานหลอมเหล็กแล้ว ผลกระทบที่ตามมาคือ

1.ฝุ่นขนาดเล็กของCs137ที่ปล่อยออกมาจากปลายปล่องจะกระจายสู่บรรยากาศและตกลงสู่แหล่งน้ำ ดินที่อยู่รอบๆโรงงานและเกิดการปนเปื้อนเข้าสู่วงจรอาหารได้แก่ ผัก ผลไม้ อา หารจากแหล่งน้ำใกล้เคียงและอาหารแปรรูปจากวัตถุดิบทางการเกษตร เป็นต้นรวมทั้งอาจมีบางส่วนที่ประชาชนหายใจเข้าไปด้วย…
สารนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายบางส่วนจะถูกขับออกจากร่างกายทางเหงื่อและปัสสาวะและบางส่วนจะตกค้างและสะสมในกล้ามเนื้อ,ตับ,ไขกระดูก หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานจะทำให้เกิดความผิดปกติในระดับโครโมโซมคือเป็นมะเร็งนั่นเอง
2.หากโรงงานหลอมเหล็กมีอุปกรณ์ควบคุมมล พิษทางอากาศ เช่น Baghouse Filter โดยจะทำการกรองฝุ่นเหล็กขนาดเล็กที่ปนเปื้อนสาร Cs137หรือที่เรียกว่าฝุ่นแดงไว้ในถุงกรองในปริมาณมากซึ่งโรงงานหลอมเหล็กจะขายฝุ่นแดงดังกล่าวให้กับโรงงานประเภท106 นำไป Recycleเพื่อสกัดเอาธาตุสังกะสีไปใช้ ซึ่งจะทำให้สารCs137แพร่กระจายออกไปในวงกว้างมากขึ้นและเกิดอันตรายต่อประชาชนและระบบนิเวศ
3.เมื่อเข้าเตาหลอมแล้วส่วนหนึ่งจะกลายเป็นขี้เถ้าหนัก(Bottom ash)โดยจะมีอนุภาคของ สารCs137ปนเปื้อนในเถ้าหนักด้วย หากโรง งานนำไปฝังกลบใต้ดินก็อาจปนเปื้อนน้ำใต้ดินและน้ำผิวดินซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหารและน้ำต่อไป
4.เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องสวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย(PPE)เพื่อป้องกันการได้รับรังสีและทำการตรวจการปนเปื้อนของสารCs137 ภายในโรงงานทุกบริเวณ เช่น เถ้าหนัก ฝุ่นแดง กองเหล็ก เตาหลอม ดินและแหล่งน้ำและฝุ่นละอองในโรงงาน เป็นต้น รวมทั้งต้องตรวจหารังสีปนเปื้อนที่ตัวพนักงานทุกคนด้วย”
ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากนี้นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านรังสี รวมถึง ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตือนถึงอันตรายที่จะเกิดจากฝุ่นแดงและผลกระทบจากการเผา และนักวิชาการหลายคนเชื่อว่าจะเกิดการปนเปื้อนทางมลพิษในพื้นที่ภาคตะวันออกรวมถึงภาคกลางบางส่วน รวมถึงการปนเปื้อนในดิน น้ำ และอาหาร ซึ่งอาจเป็นปัจจัยก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนกมากนัก เพราะต้องรอการตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *