เพจดัง World Forum ข่าวสารต่างประเทศ โพสต์บทวิเคราะห์เกี่ยวกับมวยไทย และเหตุผลว่าทำไมจึงโดนเคลม
เพจดัง World Forum โพสต์ระบุ ถึง “มวยไทย” หลังกลายเป็นข่าวหลายประเทศอ้างสิทธิความเป็นต้นตำรับ และเกิดการแตกแขนงของกีฬาประเภทนี้ออกไปอย่างกว้างขวาง โดยหลายประเทศนอกจากจะอ้างความเป็นต้นตำรับแล้ว ยังลุกลามไปถึงการอ้างความเป็นเจ้าของจนกลายเป็น “ศึกชิงมวยไทย” ทั้งๆ ที่ประเทศไทยได้สร้าง “มวยไทย”จนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกและโด่งดังจนกำลังจะถูกบรรจุเข้าสู่กีฬาโอลิมปิคในเร็วๆนี้
อย่างไรก็ตาม มีมากมายสารพัดเหตุผลเกี่ยวกับมวยไทย แต่จากข้อมูลโดยเพจ World Forum นับเป็นอีกหนึ่งในข้อมูลที่น่าสนใจ ก็ต้องขอบคุณข้อมูลดีๆ ที่ควรนำเอามาเผยแพร่ต่อๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับ “มวยไทย” และสาเหตุที่ หลายคนหลายประเทศแย่งกันเคลมกีฬาประเภทนี้ โดยเพจดังกล่าวโพสต์ระบุว่า “มวยไทย ….ทำไมถึงถูกเคลม ..? ตามรายงานกองเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ฯ มวยสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ถึง 11,966 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 7.81 ของมูลค่าอุตสาหกรรมกีฬาของประเทศ และเกิดการจ้างงานมากถึง 24,323 คน หรือ คิดเป็นร้อยละ7.51 ของการจ้างงานใน อุตสาหกรรมกีฬาของประเทศ อันดับ2 รองจากฟุตบอลเฉพาะประเทศไทยมวยไทย คือ ซอฟต์ พาวเวอร์ ของประเทศไทย ก่อให้เกิดธุรกิจจำนวนมาก ที่เกี่ยวเนื่อง อาทินักมวย ค่ายมวย ผู้จัด ผู้ผลิตอุปกรณ์ ครูมวย สื่อโฆษณา การท่องเที่ยว (ประเมินตัวเลขจริงไม่ได้เรื่องมูลค่าตอบแทนเศรษฐกิจ) มวยไทย มีมานานแสนนาน ได้รับความนิยมมากเริ่มจากยุคที่มีทีวีไม่ต้องเดินทางไปสนาม มีการถ่ายทอดสดมวยทางทีวีได้รับความนิยมสูงโดยเฉพาะกลุ่ม วัยกลางคน-ผู้ชายสูงวัย อดีตมวยไทยถูกมองว่า ป่าเถือน ซาดิสม์ อันตราย ต่างชาติไม่ยอมรับ
ซึ่งทางไทยไม่ได้ตอบโต้ไต้แต่พัฒนา กฏกติกา พัฒนารูปแบบให้ดีขึ้น ยุคสมัยเปลี่ยนไป จากเวทีมวยไทยเฉพาะที่ เริ่มกระจายสู่เมืองท่องเที่ยว ได้รับความนิยมในกลุ่มต่างชาติ มวยได้ขยายสู่ต่างประเทศ ครูมวยหลายคนถูกส่งออก รุ่นสู่รุ่น สร้างชื่อเสียงให้กับมวยไทย และคนไทย ปัจจุบัน นับสถิติปี 2021 มีค่ายมวยไทย 4000 แห่งทั่วโลก หลังปี 2000 มวยไทยเริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้น ท่าการใช้ศอก เข่า เบสิคท่าอื่นๆ ถูกพัฒนา ประยุกต์ใช้ในยิมออกกำลังกายหลายแห่ง ผู้จัดมวยไทยเริ่มใช้โปรดักชั่น สากล นั้นคือการเข้าถึงกลุ่มวัยรุ่น เด็ก สตรี ก่อนหน้าจำกัดเฉพาะกลุ่มสูงวัย ดูแล้วสนุก การแข่งขันไม่ยืดเยื้อ กระชับ ตื่นเต้น ทันสมัยไม่ตกยุค ประกอบกับการผลิตสื่อออนไลน์แบบมืออาชีพ มีเสียงภาษาอังกฤษกำกับ ที่ทั่วโลกเข้าถึง รวมทั้งสื่อภาพยนตร์ต่างๆจากฝีมือคนไทย ทำให้กระแสมวยไทยดังมาก ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจอื่นๆตามมา รวมทั้ง ผู้จัด ค่ายมวย นักมวย ครูมวย มีมูลค่าสูงขึ้น โบกาตอร์ เริ่มจากหลังยุค 1990 เมื่อเพื่อนบ้าน มองว่า มวยของเขาหายไปในยุคเขมรแดง โดยชายคนหนึ่งที่ลี้ภัยในสหรัฐฯ และกลับสู่ประเทศในปลายยุค 1990 เริ่มเขียนเรื่องราวรื้อฟื้นมวย หลักฐานจากท่าทางในรูปแกะสลักในกำแพง อ้างว่า โบกาตอร์ ท่าทางที่มนุษย์โบราณสู้กับสัตว์ จากภาพแกะสลัก
และอ้างว่าสมัยวัยเยาว์ได้เรียนท่ามวยก่อนลี้ภัยในสหรัฐฯ หลังจากนั้นในช่วงยุค 2000 เริ่มมีสมาคม และสอนวิชามวย แต่ไม่ได้รับความนิยม และเริ่มยื่น ศิลปะการต่อสู้โบกาตอร์ เข้าสู่มรดกทางวัฒนธรรม ได้รับการประกาศในปลายปี 2022 โบตากอ (Kun Lbokator) ยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม หรือมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ โบกาตอร์ มรดกทางวัฒนธรรม (แต่ไม่ได้ตอบสนองเศรษฐกิจ)จึงสร้าง กุนขแมร์อ้างว่าพัฒนามาจาก โบกาตอร์ คือต้นแบบ หลังจากนั้นก็มีเรื่องราวมากมาย พยายามพลักดัน กุนขแมร์ สู่เวที นานาชาติ สตอรี่จึงเกิดขึ้นมากมาย รวมทั้ง ภาคธุรกิจต้องการจัดไฟท์ เป็นของตัวเอง ก่อนหน้าจ้างโปรดักชั่นไทย แสงสีเสียง นักมวย สปอนเซอร์ แทบจะไทยทั้งหมด มวย เริ่มจากท่าทางสัตว์ มีในหลายประเทศมาก ในสมัยโบราณ มนุษย์ล้วนต่อสู้กับสัตว์ เพื่อนำมาเป็นอาหาร หรือเลียนแบบท่าทางสัตว์ อาทิตามสื่อ มวยตั๊กแตน นกกระเรียน สิงโต ช้าง เสือ ต่างๆ มวย วัฒนธรรมร่วม ไม่ใช่แค่ไทย พม่า ลาว เขมร ที่มีมวย (หลายประเทศนอกนี้ก็มีมวย) แต่ถูกใส่อัตลักษณ์ชื่อเรียกของแต่ละชาติที่แตกต่าง พัฒนากฏกติกาเป็นของตัวเอง เพื่อให้ได้รับการยอมรับในเวทีนานาชาติ รวมทั้งการเข้าถึงถูกพัฒนาไปตามรูปแบบรุ่นสู่รุ่น จนได้รับการยอมรับในเวทีนานาชาติ และ ชาวโลกยอมรับ ผลตอบแทนทาง ธุรกิจ เศรษฐกิจ อาชีพมวย จะตามมาซึ่งมีมูลค่ามหาศาล * ปัจจุบันวิเคราะห์ว่า ตำนาน การยอมรับ ผู้จัดมืออาชีพ ค่ายมวย นักมวย ความนิยมในประเทศ ในโลก การแตกแขนง แตกย่อย สอดแทรกมวยไทย ไปในรูปแบบต่างๆ สู่กลุ่มเป้าหมายต่างๆในโลก ล้วนเป็น ซอฟต์ พาวเวอร์ มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง
เครดิตภาพจากเพจ Banchamek Gym (Buakaw Banchamek, บัวขาว บัญชาเมฆ)
เครดิตบทวิเคราะห์จากเพจ World Forum ข่าวสารต่างประเทศ