UCEP เจ็บป่วย “ฉุกเฉินวิกฤต” มีสิทธิทุกที่ “โดยไม่ต้องสำรองจ่าย”อีกสิ่งหนึ่งที่พึงรู้

นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (UCEP) โดยไม่ต้องสำรองจ่าย สิทธิพึงรู้ไว้สำหรับประชาชนเผื่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน

ช่วงเทศกาลสงกรานต์ เป็นช่วงเวลาเฉลิมฉลองทีมีความสุข แต่ก็พึงรับรู้ในกรณีที่เกิดสถานการณ์ฉักเฉิน โดยเฉพาะเรื่องของสุขภาพและการเจ็บป่วยฉุกเฉินแบบวิกฤติ ว่าจะสามารถใช้สิทธิใดในการรักษาพยาบาล หรือ ติดต่อหน่วยงานใดได้บ้าง

“ทีมข่าวมหาชน” ขอนำเสนออีกหนึ่งในสิทธิ ขั้นพื้นฐานของประชาชน ผ่านข้อมูลจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช.กับสิทธิ UCEP อีกหนึ่งในสิทธิของประชาชนที่พึงรู้ เผื่อไว้สำหรับเหตุการณ์ไม่คาดคิด โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์

สิทธิ UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients) คือ สิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ให้สามารถ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจน พ้นวิกฤตและสามารถคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง

6 อาการที่เข้าข่าย ภาวะฉุกเฉินวิกฤต…

หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ

หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรงหายใจติดขัดมีเสียงดัง

ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น

เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง

แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วนหรือชักต่อเนื่องไม่หยุด

อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต หากพบอาการที่เข้าข่ายถือเป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉิน” โทร.1669 เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

ส่วนขั้นตอนการใช้สิทธิ UCEP

ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

โรงพยาบาลประเมินอาการและคัดแยกระดับความฉุกเฉิน

ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล

กรณีเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต จะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ UCEP ทันทีแต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง

กรณีไม่เข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤตให้รีบประสานโรงพยาบาลตามสิทธิหากประสงค์รักษาต่อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

หมายเหตุ: ในกรณีที่ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถหรือตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิตให้ใช้สิทธิดังกล่าวก่อน

หากพบปัญหา ประชาชนที่มีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) โทร. 02-872-1669 หรือ E-mail ucepcenter@niems.go.th ติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

ประชาชนต้องการอุทธรณ์ผลการพิจารณาระดับความฉุกเฉิน เเนะนำติดต่อ ศูนย์ประสานงานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) เบอร์ 02-8721669 ตลอด 24 ชม. หรือส่ง e-mail 1669@niems.go.th

หากมีข้อสงสัยในการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง) สอบถามเพิ่มเติม สายด่วน สปสช. 1330 (ตลอด 24 ชม.)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *