‘อัยการอาวุโส’ ชี้ ทำเอกสารหุ้นเป็นเท็จ มีคน 4 กลุ่ม ติดคุกแน่นอน!!

ยังคงเป็นเผือกร้อนที่กำลังย้อนกลับไปเล่นงานกลุ่มสมคบคิดล้ม “พิธา” จากประเด็นการตอบคำถามในที่ประชุมที่ไม่ตรงกันระหว่างคลิปกับบันทึกการประชุม ที่สังคมยังคงรอการตรวจสอบ ด้านอัยการอาวุโสชี้ชัด หากตรวจสอบได้ว่า “เอกสารเป็นเท็จ” จะมีคนอย่างน้อย 4 กลุ่มเข้าข่ายความผิดเต็มๆ

อ.ปรเมศวร์ อินทรชุมนุม อัยการอาวุโส สำนักอัยการสูงสุด

สำหรับ 4 กลุ่มที่ว่า นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม อัยการอาวุโสสำนักงานการสอบสวน สำนักงานอัยการสูงสุด ไล่เรียงว่า ถ้าตรวจสอบได้ว่า “เอกสารเป็นเท็จ” คนที่เข้าข่ายความผิดจะเริ่มจาก คนจดบันทึกเอกสาร คนทำเอกสาร คนเซ็นรับรองเอกสาร และ คนที่เอาเอกสารไปใช้ ข้อหามีตั้งแต่ปลอมแปลงเอกสาร ใช้เอกสารปลอม นำความเท็จไปแจ้งต่อเจ้าพนักงาน มีโทษ จำคุกอย่างน้อย 5 ปี

แต่หาก นำข้อมูลเท็จไปกลั่นแกล้งทางการเมือง ตามมาตรา143 ระบุไว้ 4 กรณี คือ กรณีที่ 1 หากกระทำการเป็นเท็จให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าอีกคนฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท และศาลสั่งเพิ่งถอนสิทธิเลือกตั้งคนนั้น 5 ปี

กรณีที่ 2 ถ้าการกระทำตามด้านบน ทำไปเพื่อแกล้งผู้สมัครคนอื่นให้ถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งหรือสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือเพื่อไม่ให้มีการประกาศผลการเลือกตั้ง จะมีโทษจำคุก 5-10 ปี และ ปรับ 1แสน-2แสนบาท และศาลสั่งเพิ่งถอนสิทธิเลือกตั้งคนนั้น 20 ปี

กรณีที่ 3 ถ้ามีการแจ้งหรือให้ถ้อนคำต่อคณะกรรมการ จะต้องระวางโทษตั้งแต่ 7-10 ปี และปรับตั้งแต่ 140,000 บาท -200,000 บาท และศาลสั่งเพิ่งถอนสิทธิเลือกตั้งคนนั้น 20 ปี

กรณีที่ 4 ถ้าพบมีหัวหน้าพรรคการเมืองหรือคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง รู้เห็นเป็นใจ ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทําการอันเป็นการบ่อนทําลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย พรรคการเมือง

นายปรเมศวร์ ยังบอกอีกว่า ระหว่างคลิปเสียงกับเอกสารที่เป็นกระดาษ ถ้าอ้างอิงตามกระทรวงดิจิทัลกำหนด หากเป็นการประชุมผ่านระบบออนไลน์ หรือ ซูม จะยึดหลักฐานจากเสียงเป็นหลัก ที่จะให้น้ำหนักมากกว่าเอกสาร

ประเด็นนี้สอดคล้องกับที่ทีมข่าว “ข่าวสามมิติ” ออกมายืนยันว่า คลิปที่ได้มา เป็นคลิปที่ไม่ได้ตัดต่อ ความยาว 3 นาทีกว่า แต่เมื่อมีการนำเสนอในรายการข่าวในรูปแบบสกู๊ปข่าวทำให้มีการตัดบางช่วงออกไปเพื่อไม่ให้กินเวลานาน ซึ่งถือเป็นขั้นตอนปกติของการสกู๊ปข่าว

ภาพจากข่าวช่อง PPTV HD36

ส่วนประเด็นที่ว่า ตามปกติ การประชุมในครั้งถัดไปจะต้องมีการเซ็นรับรองการประชุมครั้งก่อน จะเป็นช่องให้มีการขอแก้ไขเอกสารหรือไม่อาจารย์ปรเมศวร์ ให้ข้อมูลว่า สามารถขอแก้เอกสารการประชุมในครั้งหน้าได้ แต่ต้องผ่านการพิจารณาของผู้ร่วมประชุม ว่าแก้เพราะอะไร หรือถ้าผู้ร่วมประชุมคัดค้าน ก็สามารถนำคลิปเสียงจากครั้งก่อนมาเทียบและคัดค้านได้ ว่าข้อมูลไม่ตรงกับที่พูดครั้งที่แล้ว นอกจากนี้ยังบอกอีกว่า เอกสารดังกล่าวไม่ใช่ว่าสามารถเอาไปใช้ได้เลยหลังการประชุม แต่ต้องดูด้วยว่ามีการรับรองจากทีประชุมเรียบร้อยแล้วหรือยัง

อาจารย์ปรเมศวร์ ยังบอกอีกว่า ในอดีตก็มีหลายกรณีที่มีเรื่องลักษณะแบบนี้ ส่วนใหญ่เป็นบริษัทมหาชน ที่ใช้การปลอมแปลงเอกสาร ใส่ร้าย เพื่อหาผลประโยชน์ เพราะเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย หากคนตรวจสอบไม่ได้สนใจ หรือมานั่งจับผิด อย่างกรณีนี้ หากเป็นหลักฐานจริง ถือว่าการทำงานของสื่อมวลชนปัจจุบัน มีผลมากต่อการช่วยเปิดโปงความจริงของขบวนการทุจริต.

ที่มา: PPTV HD 36

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *