กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศ เรื่อง พายุ “ตาลิม” ในประเทศจีนทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนตกสะสมบริเวณประเทศไทย มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 16-20 ก.ค. 66 ผ่านจังหวัดไหนบ้างไปเช็คด่วนๆ
ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “ตาลิม” (TALIM) ฉบับที่ 14กรณีพายุโซนร้อนกำลังแรง ‘ตาลิม’ (TALM) บริเวณมณฑลกว่างซี ประเทศจีน มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 21.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 109.3 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยพายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อยด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนผ่านชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ และประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2566 โดยจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับ
CR:กรมอุตุนิยมวิทยา
ในช่วงวันที่ 18-20 กรกฎาคม 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
วันที่ 18 กรกฎาคม 2566
ภาคเหนือ
จังหวัดแม่ฮ่องสอน พะเยา น่าน ตาก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง
จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี และสระบุรี
ภาคตะวันออก
จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และตราด
ภาคใต้
จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
วันที่ 19 กรกฎาคม 2566
ภาคเหนือ
จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง
จังหวัดนครสวรรค์ กาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี และสระบุรี
ภาคตะวันออก
จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้
จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
วันที่ 20 กรกฏาคม 2566
ภาคเหนือ
จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง
จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี และกาญจนบุรี
ภาคตะวันออก
จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่
CR:กรมอุตุนิยมวิทยา
ด้านนายคมกริช สาคริก ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง กล่าวว่า MEA ในฐานะหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงมหาดไทย ดูแลระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ มีความห่วงใยประชาชนให้ระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองที่จะเกิดขึ้น โดยขอแนะนำให้ตรวจสอบโครงสร้างป้ายโฆษณาให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรงมั่นคงปลอดภัย และตรวจสอบระยะห่างของป้ายโฆษณากับสายไฟฟ้าให้มากขึ้นเพราะอาจส่งผลกระทบกับระบบไฟฟ้าอาจทำให้ไฟฟ้าดับ และขอให้ประชาชนอยู่ห่างจากป้ายโฆษณา ต้นไม้ใหญ่และสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรงใกล้แนวสายไฟฟ้า เพราะกิ่งไม้อาจหักโค่นจากลมกระโชกแรงและพาดลงมาทำให้เสาไฟฟ้าล้ม หรือสายไฟฟ้าขาด เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งขอแนะนำให้ประชาชนตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าหากชำรุดเร่งซ่อมแซมแก้ไข และสำรวจต้นไม้ที่ปลูกในบริเวณบ้านของตนเอง ให้กิ่งไม้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยไม่ระสายไฟฟ้าเพราะอาจทำให้ไฟฟ้าดับ รวมไปถึงอาจจะทำให้มีกระแสไฟฟ้ารั่วมาตามกิ่งไม้ที่เปียกน้ำจากฝนฟ้าคะนองได้
ทั้งนี้ หากประชาชนพบเห็นสายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าของ MEA ชำรุด หรืออยู่ในสภาพที่ไม่ปลอดภัย สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ MEA ได้ทุกเขต รวมถึงสามารถแจ้งผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียทางการของ MEA ตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก่ Facebook: การไฟฟ้านครหลวงMEA, Line: MEA Connect (@MEAthailand), Twitter: @mea_news หรือแจ้งเหตุไฟฟ้าขัดข้องผ่าน MEA Smart Life Application ดาวน์โหลดฟรี ทั้งระบบ iOS และ Android ที่ App Store หรือ Play Store