นักวิชาการเตือนระวังไวรัสระบาดรอบใหม่ กลายพันธุ์เร็วกว่าเดิม แรงกว่าเดิม อันตรายกว่าเดิม คาดเป็นเชื้อเดียวกับโควิด-19 ที่เพิ่งระบาดไป พร้อมระบุอาจมีคนตายถึง 50 ล้านคนในอนาคต โดยค้างคาวเป็นพาหะสำคัญ
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 ที่ผ่านมา ส่งผลให้หลายๆ ประเทศเริ่มหันมาศึกษาถึงสาเหตุ และข้อมูลในเชิงลึกของไวรัสชนิดนี้อย่างจริงจัง รวมถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะแนวโน้มการหวนกลับมาอีกครั้งของโรคระบาดอย่างโควิด -19 ที่ได้ชื่อว่า “ไวรัสมรณะมฤตยูล้างโลก” ที่เป็นหนึ่งประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ เป็นการระบาดที่มีผู้เสียชีวิตเกือบ 7 ล้านรายทั่วโลก
ล่าสุด ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารภาษาอังกฤษ Emerging Microbes and Infections เมื่อเดือนกรกฎาคม รายงานว่า มีเชื้อไวรัสโคโรนาที่ ‘มีความเสี่ยงสูง’ จำนวน 20 สายพันธุ์
โดยเป็นผลจากการวิจัยโดย ดร.ฉี เจิ้งลี่ ผู้อํานวยการศูนย์โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ สถาบันไวรัสวิทยาเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ของจีน และคณะ ซึ่งออกรายงานเตือนประชาชนและนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกให้เตรียมพร้อม เนื่องจากพบเชื้อไวรัสโคโรนาชนิดใหม่ถึง 20 สายพันธุ์ที่อาจแพร่ระบาดสู่คนอีกในอนาคต
เจ้าของฉายา ‘batwoman’ ซึ่งศึกษาวิจัยเชื้อไวรัสในค้างคาวมาหลายสิบปี และคณะนักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันไวรัสวิทยาอู่ฮั่นได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารทางการแพทย์ Emerging Microbes & Infections เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 จนทำให้สื่อจีนให้ความสนใจรายงานข่าวในเดือนกันยายน ที่ผ่านมา โดยเนื้อหาในรายงานการศึกษานี้ ระบุว่า พบเชื้อไวรัสโคโรนาที่มีความเสี่ยงถึง 40 สายพันธุ์ และในจำนวนนี้ 20 สายพันธุ์มี ‘ความเสี่ยงสูง’ ที่อาจแพร่ระบาดมาสู่คน สายพันธุ์ทำให้เกิดโรคที่ติดเชื้อในมนุษย์ ขณะเดียวกันก็มีหลักฐานว่าอีก 3 สายพันธุ์ทำให้เกิดโรคหรือติดเชื้อในสัตว์สายพันธุ์อื่น
ทั้งนี้มีการคาดการณ์ของโรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และมีสาเหตุมาจาก (ไวรัสโคโรนา) อีกครั้ง การศึกษาวิจัยเตือนการศึกษานี้อิงจากการวิเคราะห์ลักษณะของไวรัส ซึ่งรวมถึงประชากร ความหลากหลายทางพันธุกรรม ชนิดพันธุ์พืชอาศัย และประวัติของโรคสัตว์สู่คนก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นโรคที่แพร่จากสัตว์สู่คน โดยพาหะสำคัญของเชื้อโรคอุบัคิใหม่ครั้งค่อไป มาจากธรรมชาติ เช่น ค้างคาวและสัตว์ฟันแทะ หรือ อูฐ ชะมด หมู เป็นต้น
ทั้งนี้การศึกษานี้มีขึ้นสืบเนื่องจากอดีตประธานหน่วยเฉพาะกิจด้านวัคซีนแห่งสหราชอาณาจักร “เคท บิงแฮม” ที่ระบุในเอกสารงานวิจัย ซึ่งเตือนถึงโรคระบาดครั้งต่อไปที่อาจมาจากไวรัสที่ไม่รู้จักนับล้านและอาจคร่าชีวิตผู้คนไปถึงประมาณ 50 ล้านคน ตามที่ผู้เชี่ยวชาญระบุ ไวรัสหลายพันชนิดสามารถวิวัฒนาการเพื่อจุดชนวนการระบาดใหญ่ได้ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่ไวรัสอาจข้ามสายพันธุ์ และกลายพันธุ์อย่างรวดเร็ว