‘นิด้าโพล’ เผยผลสำรวจประชาชนไม่เชื่อมั่นตำรวจ ทั้งความโปร่งใส-ซื่อสัตย์-การเมืองแทรกแซง

‘นิด้าโพล’ เผยผลสำรวจประชาชน ไม่เชื่อมั่นตำรวจทำงานโปร่งใส บังคับใช้กฎหมายจริงจังเข้มงวด และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ ไม่คล้อยตามอิทธิพล โพลชี้ชัดประชาชนเชื่อว่าองค์กรตำรวจถูกแทรกแซงจากการเมืองและมีการแต่งตั้งโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรม

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประชาชนเชื่อมั่นตำรวจแค่ไหน?” ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 2-5 ตุลาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง

เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อตำรวจในด้านต่าง ๆ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงความเชื่อมั่นต่อตำรวจในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่และโปร่งใส

1.1 เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จริงจัง มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้และไม่เลือกปฏิบัติ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.09 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 27.48 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 24.05 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 10.30 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 0.08 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

1.2 เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ ไม่คล้อยตามอิทธิพลหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ผิดกฎหมาย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.01 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 29.24 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 21.76 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 9.69 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 0.30 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

2. ด้านการให้บริการและอำนวยความสะดวก

2.1 เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถช่วยเหลือประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนบนท้องถนนได้เป็นอย่างดี เช่น ช่วยเคลื่อนย้ายหรือซ่อมแซมรถเสีย นำผู้ป่วย ผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.78 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 29.77 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 19.16 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 11.30 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย และร้อยละ 0.99 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

2.2 เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรสามารถควบคุมการจราจรให้เป็นระเบียบเรียบร้อย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.93 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 26.34 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 21.53 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 12.82 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

2.3 สถานีตำรวจให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดี รวมถึงสามารถให้ความช่วยเหลือแนะนำทั้งด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 36.87 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 25.72 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 20.76 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 14.05 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย และร้อยละ 2.60 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

2.4 เจ้าหน้าที่ตำรวจมีบริการแจ้งความคืบหน้าในคดีแก่ผู้เสียหายภายในระยะเวลาที่เหมาะสม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 32.67 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 29.08 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 22.83 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 10.46 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 4.96 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

3. ด้านความสามารถในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม

3.1 เจ้าหน้าที่ตำรวจมีความสามารถในการใช้ระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการปฏิบัติงานและดำเนินคดี พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 36.57 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 26.41 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 20.00 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 12.21 ระบุว่าไม่เชื่อมั่นเลย และร้อยละ 4.81 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

3.2 ระบบในการรับแจ้งเหตุ และการตอบสนองของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีประสิทธิภาพในการช่วยเหลือประชาชน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 33.36 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 29.39 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 17.48 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 16.03 ระบุว่าเชื่อมั่นมาก และร้อยละ 3.74 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

3.3 เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถสืบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงทางคดีและจับกุมผู้กระทำผิดได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 36.72 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 30.38 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 15.80 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 14.73 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย และร้อยละ 2.37 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

3.4 เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้าระงับเหตุการณ์อาชญากรรมได้ทันท่วงที พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 31.91 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 31.75 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 22.37 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 12.90 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 1.07 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

3.5 เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถป้องกันและปราบปรามแหล่งอบายมุขหรือสิ่งผิดกฎหมายในพื้นที่ เช่น บ่อนการพนัน แหล่งมั่วสุม และยาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 35.95 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย รองลงมา ร้อยละ 32.98 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 20.00 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 10.61 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

4. ด้านการบริหารงานองค์กร

4.1 องค์กรตำรวจมีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 30.77 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 30.46 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 23.89 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 13.28 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 1.60 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

4.2 องค์กรตำรวจปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.98 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย รองลงมา ร้อยละ 29.62 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 17.33 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 8.55 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 2.52 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

4.3 ระบบการแต่งตั้งโยกย้ายในองค์กรตำรวจมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.37 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย รองลงมา ร้อยละ 29.47 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 17.79 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 8.01 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 3.36 ระบุว่าไม่มีข้อมูล/ไม่ตอบ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.41 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.98 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.61 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 35.42 สถานภาพโสด ร้อยละ 62.44 สมรส และร้อยละ 2.14 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 25.95 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 33.21 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.79 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 27.40 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 5.65 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 10.76 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.11 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.83 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.45 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.72 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.24 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 4.89 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 22.06 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.45 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.25 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.61 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.36 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.73 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.54 ไม่ระบุรายได้

ที่มา นิด้าโพล

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *