สทนช. เฝ้าระวังฝนตกหนักภาคใต้ช่วงหยุดยาวปีใหม่ เร่งผลักดันโครงการผันน้ำเลี่ยงเมือง ลดความเสียหาย

สทนช. เฝ้าระวังสถานการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ช่วงหยุดยาวปีใหม่ พร้อมประเมินผลการบริหารจัดการน้ำเชิงบูรณาการ เร่งผลักดันโครงการผันน้ำเลี่ยงเมือง บรรเทาผลกระทบชุมชนเมือง ลดความเสียหายด้านเศรษฐกิจ เตรียมถอดบทเรียนอุทกภัยทุกพื้นที่ ปรับปรุงความแม่นยำการชี้เป้าพื้นที่เสี่ยง เพื่อจัดทำมาตรการเข้มรับมือฤดูฝนปีถัดไป

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า ช่วงหยุดยาวเทศกาลปีใหม่นี้ในพื้นที่ภาคใต้จะยังคงมีแนวโน้มเกิดฝนตกหนักได้ในหลายพื้นที่ เนื่องจากการคาดการณ์ฝนของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำฯ (สสน.) พบว่า ในช่วงวันที่ 27–29 ธ.ค. 67 มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมทะเลอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักมากในบางแห่งบริเวณภาคใต้ตอนกลางและตอนล่าง โดยเฉพาะบริเวณ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จึงต้องเฝ้าระวังพื้นที่ที่เกิดฝนตกหนักและฝนตกหนักสะสม เนื่องจากอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ ทั้งนี้ สทนช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเฝ้าติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อแจ้งเตือนภัยและเข้าให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างทันท่วงที

ในปีนี้พื้นที่ภาคใต้ของประเทศได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์ลานีญา ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักมากทั้งพื้นที่ตอนบนและตอนล่างของภาค ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งและน้ำป่าไหลหลากในหลายจังหวัด ซึ่งที่ผ่านมา นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะประธานกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานขับเคลื่อนมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ล่วงหน้า และให้ สทนช. จัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้า (ชั่วคราว) ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ ที่ จ.ยะลา เพื่อทำหน้าที่วิเคราะห์และประเมินสภาพอากาศ เชื่อมโยงการดำเนินงานไปยังคณะกรรมการลุ่มน้ำในทุกลุ่มน้ำของภาคใต้ และสนับสนุนข้อมูลด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้กับ กนช. และศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) รวมทั้งได้ลงพื้นที่ ณ จ.ยะลาและปัตตานี เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. ที่ผ่านมา เพื่อให้กำลังใจผู้ประสบอุทกภัยและสร้างขวัญกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ด้วย

สำหรับในปีนี้การบริหารจัดการน้ำของเขื่อนบางลาง จ.ยะลา ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เนื่องจากหน่วยงานและจังหวัดที่เกี่ยวข้องได้มีการประชุมหารือเพื่อปรับเกณฑ์การระบายน้ำให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์จริง โดยมีการเร่งพร่องน้ำไปก่อนล่วงหน้าเพื่อเพิ่มพื้นที่รับน้ำ และเมื่อเกิดฝนตกหนักก็ให้หยุดการระบายน้ำเพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายน้ำ ทำให้ปีนี้ไม่มีการเปิดทางระบายน้ำล้นหรือสปิลเวย์ (Spillway) ทั้งที่มีปริมาณน้ำเข้าเขื่อนจำนวนมาก

เลขาธิการ สทนช. กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้ของรองนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ สทนช. บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งทบทวนมาตรการรับมือฤดูฝนและประเมินผลการบริหารจัดการน้ำในทุกพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย รวมถึงอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือด้วย เนื่องจากเห็นว่ายังมีหลายประเด็นที่ต้องปรับปรุง โดยเฉพาะการพัฒนาข้อมูลและความแม่นยำของระบบการแจ้งเตือนภัยที่ต้องเพิ่มความละเอียดในระดับพื้นที่ ซึ่งกรมอุตุฯ และ สสน.กำลังพัฒนาการประเมินฝนเรดาร์ด้วยเทคนิคเรดาร์คอมโพสิต (Radar Composite Techniques) เพื่อให้สามารถชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมล่วงหน้าได้ถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด รวมทั้งต้องสอดคล้องกับแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้สามารถกำหนดมาตรการในปีถัดไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

“นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้กำชับให้พิจารณาปรับเปลี่ยนแผนงานและงบประมาณที่จะมาดำเนินการในส่วนที่ต้องแก้ไขปัญหาอุทกภัยในระยะเร่งด่วน หากมีในส่วนที่สามารถเร่งดำเนินการได้ก็ขอให้เร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด พร้อมเร่งรัดโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผน เพื่อประโยชน์ของประชาชน เช่น โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอบางสะพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ประจวบคีรีขันธ์, โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช, โครงการประตูระบายน้ำแม่น้ำตรัง จ.ตรัง เป็นต้น ในส่วนของมาตรการแก้ไขปัญหาอุทกภัยทั้งระยะกลางและระยะยาวที่จะต้องเร่งดำเนินการ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ตัวเมืองของจังหวัดต่างๆ ที่ปัจจุบันมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้รูปแบบและการใช้ประโยชน์ที่ดินเปลี่ยนแปลงไป กระทบต่อเส้นทางน้ำและพื้นที่รองรับน้ำ ส่งผลให้ตัวเมืองประสบปัญหาน้ำท่วมรุนแรงขึ้น ประชาชนและพื้นที่เศรษฐกิจได้

ภาพประกอบข่าวจากแฟ้ม

รับผลกระทบในวงกว้าง ทำให้เกิดความสูญเสียและมูลค่าความเสียหายมีจำนวนมาก ทั้งนี้ สทนช. จะเร่งผลักดันการขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการที่มีการปรับปรุงระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบระบายน้ำเลี่ยงพื้นที่ชุมชนหรือตัวเมือง (ระบบบายพาส) ซึ่งเป็นโครงการสำคัญที่อยู่ในแผนที่จะดำเนินการในปี 68-69 ได้แก่ โครงการปรับปรุงปากแม่น้ำโก-ลก จ.นราธิวาส, โครงการระบบระบายน้ำหลักเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองยะลา ระยะที่ 1 อ.เมืองยะลา จ.ยะลา, โครงการอ่างเก็บน้ำคลองสีสุกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สุราษฎร์ธานี และโครงการป้องกันน้ำท่วมภายในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี จ.ปัตตานี เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัย ลดผล

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *