กรมชลประทาน ย้ำการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งด้วยความประณีต

สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา จัดประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านระบบบ Video Conference ไปยังสำนักงานชลประทานที่ 1-17 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ และและแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ

ดร.ธเนศร์  สมบูรณ์  ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา พร้อมผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านระบบบ Video Conference ไปยังสำนักงานชลประทานที่ 1-17 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ และและแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ สำหรับเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องและเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ที่ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (Swoc) อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำกู
กรมชลประทาน ถนนสามเสน

ปัจจุบัน (6 ม.ค. 68) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 59,801 ล้าน ลบ.ม. (78 % ของความจุอ่างฯ รวมกัน) เป็นน้ำใช้การได้ 35,860 ล้าน ลบ.ม.  เฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 19,923 ล้าน ลบ.ม. (80% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) ปริมาณน้ำใช้การได้ 13,227 ล้าน ลบ.ม. จนถึงขณะนี้ทั้งประเทศมีการจัดสรรน้ำไปแล้ว 9,456ล้าน ลบ.ม. (32% จากแผนฯ) เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยาจัดสรรน้ำไปแล้ว 2,958 ล้าน ลบ.ม.( 33% จากแผนฯ)   ด้านผลการเพาะปลูกพืชทั้งประเทศมีการเพาะปลูกข้าวนาปรังไปแล้วรวม 6.21 ล้านไร่ เฉพาะลุ่มเจ้าพระยามีการเพาะปลูกข้าวนาปรังแล้ว 4.90 ล้านไร่

ทั้งนี้ ปัจจุบันอยู่ในช่วงบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ กลาง อีสาน และภาคตะวันออก
ได้กำชับไปยังโครงการชลประทาน นำข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา และ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) มาบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ พิจารณาปรับแผนการระบายน้ำให้มีความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ด้วยความประณีต โดยเฉพาะเขตทุ่งบางระกำ และพื้นที่ทุ่งลุ่มต่ำน้ำเจ้าพระยา ที่มีการเพาะปลูกข้าวนาปรังเป็นจำนวนมาก ตลอดจนสำรองน้ำไว้ใช้ในต้นฤดูฝนหน้า พร้อมเฝ้าระวังรักษาคุณภาพน้ำร่วมกับการประปานครหลวง (กปน.) อย่างใกล้ชิด เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *